วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมสำหรับนักบริหาร

จริยธรรมสำหรับนักบริหาร

ดร. บุญเสริม บุญเจริญผล

 
ความหมายของจริยศาสตร์ และ จริยธรรม
  • จริยศาสตร์  ภาษาอังกฤษ คือ ethics
  • จริยธรรม ภาษาอังกฤษ คือ ethics    เขียนเหมือนกัน หรือ อาจใช้คำว่า moral ก็ได้

 1. จริยศาสตร์ (ethics)  หมายถึง วิชาทางปรัชญาที่ว่าด้วยลักษณะของค่านิยมอันสูงส่ง และ กำหนดมาตรฐานการกระทำของมนุษย์ว่า การกระทำใดถือว่าถูก การกระทำใดถือว่าผิด   หรือกล่าวง่ายๆว่า จริยศาสตร์เป็นวิชาปรัชญาว่าด้วยค่านิยมทางจริยธรรมและมีกฎให้ปฏิบัติ
2. จริยธรรม (ethics) หมายถึง ระบบของหลักปฏิบัติทางจริยธรรม   เป็นกฎหรือมาตรฐานครอบคลุมความประพฤติของคนหรือสมาชิกขององค์การวิชาชีพ
 
 ใช้คำใดๆก็ได้ความหมายเหมือนกัน 
สำหรับ คำว่า คุณธรรม กลายเป็นความหมายครอบคลุมทุกอย่างที่เป็นความดี  
 
 เป้าหมายของการบริหารองค์การ 
ผู้บริหารที่ดีทั้งหลาย ตั้งเป้าหมายของการบริหารไว้ดังนี้
  • ให้บุคลากรในองค์การ มีความสุขความเจริญ
  • ให้องค์การมีความเจริญ และ มั่นคง
 ทำไมต้องมีจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร
ก่อนตอบคำถามนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ผู้บริหารมีภาระหน้าที่อย่างไร  เขามีภาระหน้าที่หลัก 3 ประการ
1. ทำให้ประชาชนผู้มาใช้บริการได้รับประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
2. ทำให้บุคลากรในองค์กรนั้น ได้รับประโยชน์มากที่สุด
3.  ทำให้องค์กรนั้น มีความเจริญและมั่นคง
  ผู้บริหารมีอำนาจจัดการเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคล 3 ฝ่าย   หากผู้บริหารไม่มีจริยธรรม ก็สามารถใช้อำนาจหน้าที่หาผลประโยชน์ใส่ตัว แต่...ทำให้ทั้งสามฝ่าย หรือ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์อันควรได้   ผู้บริหารมีอำนาจที่จะทำการเบียดเบียนบุคคลสามฝ่ายได้ บางทีก็ทำผิดกฎหมาย หรือผิดกฎระเบียบปฏิบัติ อย่างรู้เห็นได้ชัดแจ้ง      บางทีผู้บริหารที่มีเล่ห์เหลี่ยม สามารถทำชั่วได้โดยไม่ผิดกฎหมาย  หากเขารู้จักวิธีหลีกเลี่ยง หรือ สร้างกฎหมาย กฎ ระเบียบขึ้นมารองรับว่า การกระทำของเขาถูกต้อง
 
สรุป ทำไมผู้บริหารต้องมีจริยธรรม 
เพื่อไม่ให้ผู้บริหารเบียดเบียนผู้อื่น และ
 
คุณสมบัติที่ดีของนักบริหาร
กบริหารที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไรเป็นเรื่องที่ ไม่มีกฎตายตัว  หลายความคิดว่ากันไปต่างๆ  แต่ สรุปได้ดังนี้

         สื่อสารเป็น      
         ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม
         แก้ปัญหาเป็น
         เข้าใจงานทำงานเป็น
         รู้จักริเริ่ม
         มองกาลไกล
         รอบคอบ
         เห็นใจ เข้าใจ
         มนุษยสัมพันธ์ดี
         รู้จักเวลา
         หนักแน่น อดทน
         ไม่เชื่อคนง่าย

สื่อสารเป็น
หมายความว่า ต้องการให้ผู้ใดทำอะไร หรือต้องการให้เขารู้อะไร  ก็บอกเขาได้โดยเขาไม่เข้าใจผิด ทั้งสื่อสาร
ด้วยความสุภาพอ่อนน้อม     และ เปิดทางให้ผู้อื่นได้บอกถึงเรื่องราวต่างๆมาสู่ตนได้   เป็นการสื่อสารทั้งไปและกลับ   ผู้สื่อสารไม่เป็น ก็ไม่สามารถทำให้ผู้อื่นร่วมมือได้
ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม
เป็นเรื่องที่เรากำลังเรียนอยู่นี้  ความซื่อสัตย์เป็นหัวใจของการทำงาน มีความสำคัญกว่าความเก่งเชี่ยวชาญใน
การทำงาน หากไม่ซื่อสัตย์ ก็เอาเปรียบผู้อื่น ทั้งผู้ร่วมงาน  ผู้รับบริการ และ องค์กร   ในบางท้องถิ่น บางองค์กร ถือว่า ความซื่อสัตย์ไม่จำเป็น คิดว่าไม่เป็นไรหากมีการฉ้อโกงเอาเปรียบ ก็ยอมรับได้  หรือ ถือเป็นการยอมรับกันได้ เช่น  สังคมไทยทุกวันนี้  หน่วยงานที่ผู้บริหารไม่ซื่อสัตย์ ก็ล่มสลาย หรือเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ  แต่ผู้เกี่ยวข้องอาจไม่รู้ตัว เพราะยังได้ประโยชน์ดีอยู่ในปัจจุบัน
แก้ปัญหาเป็น
ทุกหน่วยงาน จ้างผู้บริหารไว้แก้ปัญหา  ถ้าเจ้าของหน่วยงานบริหารงานเอง ก็ต้องแก้ปัญหาเอง  ถ้าแก้ปัญหา
ไม่เป็น ปัญหาก็ตกค้าง  หรือยิ่งแก้ยิ่งมีปัญหาหนักขึ้น  ก็ยิ่งเดือดร้อน  การแก้ปัญหาเป็น ต้องเกิดจากได้รับการฝึกฝนอบรม เป็นคนช่างคิดหาเหตุผลที่ถูกวิธี  และ ตั้งใจแก้ปัญหา ไม่ใช่อยู่ไปอย่างขอไปที
ทำงานเป็น   เข้าใจงาน
       ผู้บริหารมิใช่เพียงเป็นนาย คอยสั่งการ ถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจงาน ทำงานไม่เป็น ก็สั่งงานผิดๆถูกๆ  ลูกน้องก็ดูถูก เข้าทำนอง ตัวเป็นนายโง่เง่า  บ่าวไม่เกรง   หน่วยงานนั้นก็ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายได้  ในองค์กรต่างๆจำนวนมาก เอาคนไม่เป็นงานมาบริหารงาน เพื่อเอาตำแหน่งหรือผลประโยชน์  องค์กรนั้นก็ไม่เจริญ
รู้จักริเริ่ม
      สภาวะของสังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนไปเรื่อยๆ  และ เรายังมีทางทำให้หน่วยงานเจริญขึ้นเรื่อยๆ   ผู้บริหารต้องกล้าริเริ่มเรื่องใหม่ๆให้หน่วยงาน  แต่ก็ต้องรู้จักพิจารณาว่า การริเริ่มเปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องดีขึ้นหรือกลับเลวลงกว่าเก่า    ผู้บริหารบางคนเป็นนักริเริ่ม ชอบทำเรื่องใหม่ๆ   แต่ด้วยความไม่ฉลาดของตน ริเริ่มอะไรก็ได้ผลลัพธ์ที่เลวลงทุกที
มองกาลไกล (วิสัยทัศน์ดี)
        เพราะว่าสภาวะของสังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนไปเรื่อยๆ  เหตุการณ์แปลกๆอันไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นแน่ๆ  ผู้บริหารที่มองเหตุการณ์ในอนาคตออก  จึงสามารถเตรียมการรับมือกับสภาวะใหม่ๆได้สำเร็จ  การเตรียมการเพื่ออนาคต ต้องเตรียมรับให้ถูกจังหวะ ไม่เร็วไป ไม่ช้าจนไม่ทันกาล
รอบคอบ
        ผู้บริหารที่มักง่ายใจร้อน ไม่ยอมพิจารณาเรื่องให้รอบคอบ จะพาหน่วยงานไปสู่ความหายนะ   ความรอบคอบก็คือรู้จักคิดหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลอย่างเป็นระบบ ไม่คิดด้านเดียว ทั้งต้องคิดถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ดีหรือไม่ดี    หลักคิดใดๆก็ไร้ผล (เช่น SWOT) หากผู้คิดขาดความรอบคอบ    ผู้บริหารที่รวยคำว่า ไม่เป็นไร ทำความเสียหายเสียใจมามากแล้ว
เข้าใจคน  เห็นใจคน
        ผู้บริหารต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายพวก  คนเป็นปัจจัยสร้างความสำเร็จและหายนะ  ไม่ว่าผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง และผู้รับบริการ ย่อมมีทั้งคนดีและคนเลว  คนฉลาดและคนโง่  คนขยันและคนเกียจคร้าน  คนโลภจัดและคนเสียสละ คนมีทุกข์และไม่มีทุกข์    ผู้บริหารต้องเข้าใจคนทุกพวกทุกลักษณะ  แล้วปฏิบัติต่อเขาให้เหมาะสม  อย่าคิดว่า ทุกคนดีหมด  ทุกคนเลวหมด ทุกคนโง่หมด ทุกคนฉลาดหมด   จะปฏิบัติต่อเขาไม่เหมาะสม  คนที่ตกอยู่ในความทุกข์ ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่  
         การบริหารคนเป็นเรื่องยากที่สุด แต่ก็หลีกหนีไม่พ้น  การบริหารแบบเอาใจคนหมดทุกคน เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ทั้งการเอาใจคนเฉพาะกลุ่ม ก็ไม่ถูกต้อง  ทั้งสองอย่างทำให้ส่วนรวมเสื่อมลง เกิดความไม่เป็นธรรม     
         แม้ในชีวิตประจำวันของเรา การอ่านคนผิด ทำให้ชีวิตวิบัติอับเฉา จนถึงตายได้

มนุษยสัมพันธ์ดี
       คือ มีความสัมพันธ์กับคนทั้งหลายอย่างเป็นมิตร  ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า ผู้บริหารเป็นที่พึ่งได้  เป็นที่รักที่นิยมของคนทั้งหลาย   คุณสมบัติเหล่านี้ เกิดจากจิตใจที่ดีงาม จริงใจ พูดจาสมเหตุผล มีมารยาทสมบัติผู้ดี   รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
รู้จักเวลา
      คือ รู้ว่าเมื่อใดควรทำอย่างไร รู้จักกาลเทศะ เช่น เวลานี้เป็นเวลาทำงาน  ไม่มัวเพลินอยู่ที่ร้านอาหาร  การใช้ลูกน้องไม่เลือกเวลา เป็นการละเมิดสิทธิของเขา    การไม่รู้จักแบ่งเวลาทำงาน มาเร่งงานตอนท้าย ทำให้ลูกน้องเครียด และงานเสียหาย
หนักแน่น อดทน
        ผู้บริหารงานต้องพบกับปัญหายุ่งยาก คนที่ขัดขวาง  หรือ ทำตัวเป็นศัตรู  เหล่านี้ทำให้เกิดความไม่สบายใจ   ความหงุดหงิดยิ่งทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี   การโต้ตอบกับคนที่ไม่หวังดี ต้องสุภาพ อดทน ไม่แสดงกิริยาหยาบตอบโต้คนถ่อย  โดยปกติผู้อดทนย่อมสำเร็จ  แต่ไม่ได้หมายความว่า อดทนลำบากแล้วไม่ยอมแก้ปัญหาในเรื่องนั้น  นี้เป็นความเกียจคร้าน ไม่ใช่อดทน
ไม่เชื่อคนง่าย
      คือ ไม่หูเบา   ผู้บริหารย่อมมีคนเข้ามาสอพลอเอาใจ ใครๆก็ชอบการสอพลอเอาใจ  แต่ผู้ประจบย่อมหวังเอาประโยชน์ใส่ตน   คนพวกนี้จะเอาดีใส่ตัว กล่าวร้ายเอาชั่วใส่ผู้อื่น   ผู้บริหารจึงต้องไตร่ตรองหาความจริง  ไม่เชื่ออย่างที่ได้ยิน    นอกจากฟังว่าเขาพูดว่าอะไรแล้ว ยังต้องคิดต่อไปว่า ทำไมเขาจึงกล่าวอย่างนั้น เขาหวังอะไร จึงทำให้ได้ความจริง    หน่วยงานที่ผู้บริหารหูเบาเชื่อง่าย ลูกน้องจะระส่ำระสาย ไม่เต็มใจทำงาน ทั้งที่อยากทำงาน   คนดีจะหนีหาย เหลือแต่คนไม่มีคุณภาพ ทั้งอาจทำให้หน่วยงานพินาศได้
หลักปฏิบัติทางจริยธรรมของผู้บริหาร
ตัวอย่างที่ 1  Steven Cohen and William Eimicke
        เชื่อฟังกฎหมาย
        ทำเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม
        อย่าทำร้ายประชาชนด้วยอุบายใดๆ
        ให้บุคลากรแต่ละคนรับผิดชอบต่อวิธีการทำงาน และ  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
        ถือว่าการทำเรื่องผิดกฎหมายเป็นการฉ้อโกงองค์กร
ตัวอย่างที่ 2 HEMA-QUEBEC.    CODE OF ETHICS AND PROFESSIONAL CONDUCT
        ผู้บริหารต้องทำภารกิจให้สำเร็จตามกฎหมาย ด้วยความซื่อสัตย์  ภักดี (loyalty) รอบคอบ  ขยัน  มีประสิทธิภาพ  สม่ำเสมอ และ เท่าเทียมกัน (fairness)
        ในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารต้องเคารพกฎเกี่ยวกับจริยธรรมทุกข้อ
        ผู้บริหารต้องรักษาความลับของข้อมูลไม่ให้เผยแพร่ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวแก่ผู้ใดอันจะทำให้เกิดการได้เปรียบ  ยกเว้นข้อมูลที่ต้องเปิดเผยหรือเผยแพร่
        ผู้บริหารต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ลำเอียงให้แก่ผลประโยชน์ของพรรคการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์
        ผู้บริหารต้องไม่แสดงความคิดในที่สาธารณะในลักษณะลำเอียงที่เป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมืองบางพรรค
        ผู้บริหารต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในการพิพาทแย่งผลประโยชน์ของคนสองฝ่ายโดยไม่จำเป็น ยกเว้นเข้าไปไกล่เกลี่ยด้วยใจเป็นธรรม
        ผู้บริหารต้องไม่ใช้องค์กรเป็นประโยชน์ต่อผลประโยชน์ส่วนตัว นอกเหนือไปจากเงินเดือนและรางวัลความขยันที่มอบให้ตามระเบียบ
        ผู้บริหารต้องไม่ถือเอาทรัพย์สิ่งของขององค์กรเป็นของตน  ทั้งไม่นำมาเป็นประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น
-      ผู้บริหารต้องไม่นำข้อมูลในองค์กรไปเป็นประโยชน์ต่อกิจการส่วนตัวหรือของพรรคพวก
- ผู้บริหารต้องไม่ทำหน้าที่ในตำแหน่งอื่นๆนอกองค์กร ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา    หรือ เป็นงานที่ไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน
               -  ผู้บริหารต้องไม่รับของขวัญ  ความเอื้อเฟื้อ หรือ ผลประโยชน์อื่นใด ที่มีราคาสูงผิดธรรมดาการ
                    ให้ของขวัญที่ปฏิบัติกันใสสามัญชน    หากมีผู้มอบให้แล้ว ต้องรายงานผู้บังคับบัญชาและต้อง
                    ส่งคืนผู้ให้
               -  ผู้บริหารต้องไม่เรียกรับสินบนหรือผลประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่น   ผู้บริหารต้องตัดสินใจโดย
                   ไม่นึกถึงผลประโยชน์ที่มีผู้มอบให้
- ผู้บริหารที่พ้นหน้าที่ไปแล้วจากองค์กร  ต้องไม่ใช้ข้อมูลหรือองค์กรเป็นประโยชน์ต่อตนหรือพรรคพวก
- ผู้บังคับบัญชาเหนือต้องดูแลรับผิดชอบให้ผู้อำนวยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมดังกล่าว
ตัวอย่างที่ 3     Carol W. Lewis and Bayard L. Catron. PROFESSIONAL STANDARDS AND ETHICS.
          ต้องทำความดี (virtues)
      1. ให้คิดว่าทุกคนเสมอกันกับเรา (Humility)  ผู้บริหารต้องบริการประชาชนด้วยการ -ไม่ดูถูก  - เป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย (concern)   -สุภาพ   -ตอบสนอง (responsiveness)  
  1. นึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น (empathy)    นึกว่าเขาจะรู้สึกอย่างไร แล้วบริการอย่าให้ประชาชนรู้สึกเสียใจ
  2. รอบคอบ (Prudence) ใช้ความรอบคอบเป็นหลักปฏิบัติเพื่อป้องกันการละเมิดจริยธรรม และไม่ให้เสียหายแก่ประชาชน
     4. กล้าทำดี  (Moral Courage) บางคนอยากทำความดี แต่ไม่กล้า เพราะอาย กลัวจะเป็นคนแปลก ไม่มีใครเขาทำความดีอย่างนี้    ทางที่ถูกต้องเป็นคนกล้าที่จะทำความดีมีจริยธรรม แม้จะไม่มีคนอื่นทำก็ตาม

          ต้องงดเว้นความชั่ว (Vices) ความชั่วดังต่อไปนี้
       1. ถือตัวเองเป็นใหญ่ (Self-Righteousness) คิดว่าตัวเองถูก คนอื่นไม่ถูก ให้คนอื่นทำให้ทำตามใจ ไม่ฟังผู้อื่น
     2. มีกิเลส (Self-Indulgence)  อยากได้เงินหรืออำนาจอย่างรุนแรง ทำให้คอรัปชั่น
     3. ปกป้องปิดบังความผิดของตนเอง (Self-Protection)  พยายามกลบเกลื่อนปิดบังความผิดของตนเอง แทนที่จะยอมรับและยินดีแก้ไข 
     4. หลอกตัวเอง (Self-Deception)  เมื่อประพฤติผิดจริยธรรม ก็หาเหตุมาแก้ตัวหลอกตัวเองว่าตนไม่ผิด มองไม่เห็นบาปที่ตนก่อ  เรื่องนี้เป็นการกระทำผิดจริยธรรมที่เกิดขึ้นมาก

ตัวอย่างที่ 4    มีคำสอนในพุทธศาสนา กล่าวถึงจริยธรรมของผู้บริหารที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารงานได้  คือ
                ก. พรหมวิหาร  อันเป็นหลักที่ผู้ใหญ่ปฏิบัติต่อผู้น้อย ดังนี้
1. ช่วยให้ผู้อื่นมีความสุขมีความเจริญขึ้น (เมตตา)  หาทางทำให้ผู้รับบริการและผู้ใต้บังคับบัญชามีความสุข    
2.   ช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ (กรุณา)   ทำให้ผู้อื่นพ้นจากความเดือดร้อน
3.ดีใจยินดีเมื่อประชาชนและผู้ในปกครองมีความเจริญสุขขึ้น(มุทิตา)  ไม่อิจฉาเมื่อเขาเจริญขึ้น
4. เที่ยงธรรม (อุเบกขา) ไม่ลำเอียงเข้าข้างให้คุณให้โทษอย่างไม่เป็นธรรมทั้งแก่ประชาชนและแก่คนในปกครอง
                ข. สังคหวัตถุ  หลักปฏิบัติเพื่อครองใจคน
1. ให้ปันสิ่งของกัน (ทาน)  เมื่อมีของแปลกของดีก็นำมาให้กัน หรือ เมื่อผู้อื่นเดือดร้อนก็นำสิ่งของมาให้
2. พูดจาสุภาพไพเราะ (ปิยวาจา) พูดสุภาพทำให้ผูกใจกันได้  พูดไม่ดีผู้ฟังโกรธหรือเสียใจ
3.ทำประโยชน์ให้ผู้อื่น (อัตถจริยา)  เป็นการทำงานตามหน้าที่รับผิดชอบ และทำให้ดีที่สุด เพื่อประโยชน์ผู้อื่น
4.  ยกย่องให้เกียรติเสมอกัน (สมานัตตตา)  ไม่คิดดูถูกผู้อื่นว่าต่ำต้อย
.............................
สร้างประโยชน์ให้ผู้อื่นได้มากขึ้น  ผู้บริหารจึงต้องมีหลัปฏิบัติ เรียกว่า จริยศาสตร์ (ethics)  และ ต้องปฏิบัติตามหลักนั้น ซึ่งเรียกว่า ต้องมีจริยธรรม (ethics or moral)
 
ให้ประชาชน หรือผู้มารับบริการหรือลูกค้า ได้รับประโยชน์มาก
ฉะนั้น เราจะเรียกการทำดีว่าอย่างไรก็ตาม  ethics, virtue, merit , moral ก็เป็นความหมายที่ไม่แตกต่างกันนัก หรือ อาจไม่แตกต่างกันเลย
คำว่าจริยธรรม  หมายถึง การปฏิบัติ (ไม่ใช่หลักวิชา)   จะใช้คำภาษาอังกฤษว่า ethics หรือmoral  ก็ได้
ฉะนั้น บางทีเขาใช้คำ ethics หมายถึง วิชาจริยศาสตร์   และ ใช้คำ moral หรือ ethics หมายถึง จริยธรรม     คือ    การปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์
 
คำที่ความหมายใกล้เคียง 
Virtue หมายถึง  ความสอดคล้องกับความถูกต้อง  หรือ สภาวะแห่งความดี    บางทีแปลว่า คุณงามความดี  (บางทีคำนี้อาจเข้าใจยากหากดูละเอียดทีละคำ  งามอย่างไร และ ดีอย่างไร)
Merit หมายถึง ความดี     การทำเรื่องอะไรที่เป็นความดี ก็เป็น merit
จากการรวบรวมจากเอกสารหลายฉบับ สามารถแปลคำethics นี้ได้ว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น